ตุลาคม 6, 2007. Uncategorized. ใส่ความเห็น.

การพัฒนาที่ยั่งยืน

การพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development

“เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่มีคุณภาพและ ไม่ยั่งยืน”
– 2515 องค์กรสหประชาชาติจัดให้มีการประชุมสุดยอดว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (Human Environment) ณ กรุงสต๊อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน = เรียกร้องให้คำนึงถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือยจนเกินขีดจำกัด
• 2526 – UN ตั้งสมัชชาโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (World Commission on Environment and Development : Brundtland Commission) Our Common Future

เรียกร้องให้ชาวโลกเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับข้อจำกัดของธรรมชาติ

พ.ศ 2535 การประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UN Conference on Environment and Development: UNCED หรือ Earth Summit) ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล

• แผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) –
การพัฒนาเศรษฐกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม ในขณะเดียวกันก็ให้ความคุ้มครองฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อผลประโยชน์ของคนรุ่นต่อไป

พ.ศ. 2545 (World Summit on sustainable Development: WSSD)
• ณ นครโจฮันเนสเบอร์ก ประเทศสาธารณแอฟริกาใต้
• สานต่อแผนปฏิบัติการ 21 เพื่อดำเนินงานพัฒนาที่ยั่งยืนให้กว้างขวางและมีผลในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือ
• ประเทศสมาชิกบรรลุข้อตกลงในการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ร่วมกันให้เสร็จภายใน พ.ศ. 2558 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและขจัดปัญหาความยากจนของคน
• มุ่งส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ (Human Capacity Building) – การศึกษา สุขภาพอนามัย
• สร้างจิตสำนึกเพื่อกระตุ้นให้ตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน

ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
• World Commission on Environment and Development หรือ Brundtland ในรายงาน Our Common Future
“รูปแบบของการตอบสนองต่อความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันโดยไม่ทำให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดความสามารถในการที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง”

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต)
• การพัฒนาที่ยั่งยืนมีลักษณะที่เป็นบูรณาการ (Integrated) คือทำให้เกิดเป็นองค์รวม (Holistic) หมายความว่า องค์ประกอบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาประสานกันครบองค์ และมีลักษณะอีกอย่างหนึ่งคือ มีดุลยภาพ (Balance) หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ การทำให้กิจกรรมของมนุษย์สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ

การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย
• การพัฒนาที่ต้องคำนึงถึงความเป็นองค์รวมของทุก ๆ ด้านอย่างสมดุล บนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม ด้วยความเอื้ออาทรเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อความสามารถในการพึ่งตนเอง และคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน

“การพัฒนาที่ยั่งยืน”จะต้องก่อให้เกิด ความยั่งยืนใน 3 องค์ประกอบด้วยกันคือ

กรอบแนวคิดของการดำเนินงานในแต่ละมิติของการพัฒนาของประเทศไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
1. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
1.1 ปรับกระบวนทัศน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.2 อาศัยกลยุทธ์เชิงรุกในการดำเนินการป้องกันทรัพยากร
1.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
2. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
2.1 การเติบโตอย่างมีคุณภาพ
2.2 การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน
2.3 การกระจายความมั่นคง

3. การพัฒนาสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3.1 การพัฒนาคุณภาพคน ให้มีความรู้ มีสมรรถนะและมีผลิตภาพสูงขึ้น
3.2 การพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทุนทางสังคม

ผลที่มุ่งหวังของการพัฒนาที่ยั่งยืน
• ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. ดำรงรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ผลผลิตจากทรัพยากรธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์และเป็นฐานการผลิตต่อไปในระยะยาว
3. ระบบนิเวศสามารถทำหน้าที่ได้อย่างยั่งยืน และสิ่งแวดล้อมได้รับการปกป้องให้ยืนยาวสำหรับคนรุ่นหลักตลอดไป

กันยายน 25, 2007. Uncategorized. ใส่ความเห็น.

โลกาถิวัตน์

โลกาภิวัตน์และวิสัยทัศน์ของสังคมไทย
(Globalization)

ความหมาย
โลกาภิวัตน์ หมายถึง การแพร่กระจายเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกของข้อมูลข่าวสาร ประชาคมโลกไม่ว่าอยู่ส่วนใด สามารถรับรู้ และรับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อันสืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ และการสื่อสารคมนาคมที่รวดเร็ว โลกาภิวัตน์ “โลกไร้พรมแดน”

ความเป็นมาของโลกาภิวัตน์
 อัลวิน ทอฟฟเลอร์ ชาวอเมริกัน ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “The Third Wave” เสนอทิศทางการเปลี่ยนแปลงของระบบโลก โดยคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลง 3 ครั้ง
 คลื่นลูกที่หนึ่ง การปฏิวัติเกษตรกรรม มนุษย์รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ไม่เร่ร่อน
 คลื่นลูกที่สอง การปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการเปลี่ยนแปลงจนเกิดจุดวิกฤตที่รุนแรงที่สุดคือ สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
 คลื่นลูกที่สาม สังคมแห่งเทคโนโลยีระดับสูง ระบบโลก แบ่งตัวเองเป็น 2 ค่าย ได้แก่ ทุนนิยม และ สังคมนิยม มีการเปลี่ยนแปลงพร้อมกับการปฏิวัติ อุตสาหรรมครั้งที่ 3 ก่อให้เกิดระบบความสัมพันธ์ใหม่ที่เรียกว่า ยุคเครือข่ายครอบโลกไร้พรมแดน

ลักษณะของโลกาภิวัตน์

 ใช้คอมพิวเตอร์เป็นกลไกสำคัญ
 การไหลบ่าของข้อมูลข่าวสาร
 การเพิ่มขึ้นของแรงงานด้านข่าวสาร
 บทบาทและความสำคัญของสถาบันวิจัยและพัฒนา
 การประสานระบบเศรษฐกิจเป็นหนึ่งเดียว
 ชุมชนมนุษย์มีความใกล้ชิดกัน
 พฤติกรรมของนักการเมืองเกิดความเปลี่ยนแปลง

อิทธิพลของโลกาภิวัตน์ต่อสังคมโลก
 ผลกระทบด้านสังคม
 การครอบโลกทางวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรมและอำนาจเศรษฐกิจจากประเทศที่พัฒนาแล้ว หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศอื่น ๆ ก่อเกิดกระแสวัฒนธรรมโลกครอบงำความคิดของประชาคมโลก
 การเป็นหมู่บ้านโลก โลกไร้พรมแดน ทั้งโลกเสมือนเป็นหมู่บ้านเดียวกัน
 การแสวงหากำไรแบบใหม่ จากระบบการค้าเสรี การหลั่งไหลของเงินทุนข้ามชาติ
 การเป็นสังคมแห่งความรู้และข่าวสารข้อมูล มีการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก
 คอมพิวเตอร์
 เทคโนโลยีการคมนาคมและการสื่อสาร
 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
 การปฏิรูประบบเศรษฐกิจแบบเสรี จากการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์
 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ พยายามหาแนวร่วมทางเศรษฐกิจ ขยายขอบเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เช่น ความร่วมมือประชาคมยุโรป(EU) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ฯลฯ
 เกิดระบบเสรีทางการเงินและการค้า
 ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ ใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน
 ผลกระทบด้านการเมือง
 ความเป็นท้องถิ่นนิยม สังคมโลกาภิวัตน์เป็นสังคมยุคข่าวสารประชาชนในท้องถิ่นรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วจากสื่อมวลชน เป็นการปลุกจิตสำนึกของประชาชนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ให้รู้จักรักษาและหวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่นของตน
 บทบาทของสถาบันการเมืองและกลุ่มทางการเมือง เกิดสถาบันการเมืองใหม่เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มสิทธิสตรี กลุ่มองค์การพัฒนาเอกชน เนื่องมาจากชัยชนะของปัจเจกชนทำให้แต่ละกลุ่มมีความเป็นอิสระในการเรียกร้องตามความต้องการของตน มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

 อิทธิพลของโลกาภิวัตน์ต่อสังคมไทย
 เกิดภาวะการแข่งขันที่รุนแรง
 การแพร่กระจายของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในโลก
 การปฏิรูปการเมืองการปกครอง
 วิกฤตคุณธรรมจริยธรรม
 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของ ประเทศไทยในอนาคต
 การปฏิรูปการศึกษา
 การปฏิรูปสุขภาพ

กันยายน 25, 2007. Uncategorized. ใส่ความเห็น.

วิชาวิถีไทย..ยินดีต้อนรับคำถามและความเห็น

กันยายน 19, 2007. Uncategorized. 1 ความเห็น.